วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การส่งเสริมและการพัฒนาครู
           มีปัญหาหลายประการของการจัดการศึกษาของไทยที่เป็นสาเหตุทำให้ต้องมีการปฏิรูปการศึกษาอย่างขนาน
ใหญ่ ปัญหาสำคัญประการหนึ่ง คือ ปัญหาเกี่ยวกับครู 
 และบุคลากรทางการศึกษา  ซึ่งมีปัญหาตั้งแต่การผลิต การใช้
การพัฒนา 
 และการรักษามาตรฐานของวิชาชีพครู รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2540 มาตรา 81 จึง กำหนดบทบัญญัติให้มีการ พัฒนาวิชาชีพครู ไว้ด้วย และในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  .. 2542 มาตรา 9 (4) ก็ได้กำหนดบทบัญญัติให้มีหลักการส่งเสริมมาตรฐาน วิชาชีพครู คณาจารย์  และบุคลากรทางการศึกษา  และการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  นับเป็นหลักการและเหตุผลสำคัญในการกำหนดแนวทาง พัฒนาวิชาชีพครู ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา
                        การปฏิรูปวิชาชีพครู ซึ่งรวมถึงผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการ
ศึกษา ได้กำหนดไว้ในหมวด 7 ของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ โดยมีแนวทางกล่าวได้  คือ
                        1. จัดให้มีระบบ และกระบวนการผลิต และพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ และมาตรฐาน เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง ปรับปรุงให้สถาบันที่ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์  รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษา มีความพร้อมและความเข้มแข็ง ในการเตรียมบุคลากรใหม่ และการพัฒนาบุคลากรประจำการอย่างต่อเนื่อง และจัดตั้งกองทุนพัฒนา ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
                        2.  จัดให้มีการควบคุม และรักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพครู โดยจัดตั้งองค์กร       วิชาชีพ
ครูและสภาวิชาชีพครู ทำหน้าที่ กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบ   วิชาชีพ กำกับดูแล
และการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งพัฒนาวิชาชีพครูผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา
                        3. จัดให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู โดยให้ครูและบุคลากรทาง    การศึกษา
ทั้งของหน่วยงานทางการศึกษาในระดับสถานศึกษาของรัฐ และระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็น    ข้าราชการสังกัด
องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู โดยยึดหลักการกระจายอำนาจ การบริหารงานของบุคคลสู่เขตพื้นที่
การศึกษา และสถานศึกษา
                        4.  จัดให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่น สำหรับข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้มีรายได้เพียงพอและเหมาะสมกับฐานะทางสังคมและวิชาชีพ
                        5.  จัดให้มีกองทุนส่งเสริมครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อจัดสรรเป็นเงินอุดหนุน
งานริเริ่มสร้างสรรค์ ผลงานดีเด่น และเป็นรางวัลเชิดชูเกียรติครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
                        6.  ให้หน่วยงานทางการศึกษา ระดมทรัพยากรบุคคลในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
โดยนำประสบการณ์ ความรอบรู้ ความชำนาญ และภูมิปัญญาท้องถิ่นของบุคคลมาใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทาง
การศึกษาและยกย่องเชิดชูผู้ที่ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา 

แนวทางการส่งเสริมและยกระดับวิชาชีพครู
          การให้ความสำคัญแก่วิชาชีพครูได้ปรากฏในนโยบายรัฐบาลหลายยุคหลายสมัย ที่เห็นได้ชัด ได้แก่ นโยบายในส่วนที่เกี่ยวกับการศึกษาและสังคมของรัฐบาลในอดีตจนถึงปัจจุบันที่สำคัญ เช่น
          รัฐบาลนายอานนท์ ปันยารชุน (๒๕๓๔) มองเห็นความสำคัญของการศึกษาและการพัฒนาวิชาชีพครูโดยได้กำหนดนโยบายส่วนนี้ว่า
          วางมาตรการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาจารย์ที่มีคุณภาพโดยเฉพาะในสาขาวิชาที่มีความต้องการสูง
          รัฐบาลนายชวน หลีกภัย (๒๕๓๕) กำหนดนโยบายในส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูว่า
          จะพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครูและมาตรฐานบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นวิชาชีพอย่างแท้จริง โดยการปรับปรุงกระบวนการผลิตและการใช้ตลอดจนการพัฒนาครูและบุคลากรในสถาบันการศึกษาทุกระดับ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและความภาคภูมิใจในอาชีพ
          รัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา (๒๕๓๘) กำหนดนโยบายด้านการผลิตและการพัฒนาครูไว้โดยเฉพาะดังนี้
๑)ปฏิรูปการผลิตครูและพัฒนาครูประจำการอย่างเป็นระบบ และเสริมสร้างเครือข่ายทั่วประเทศ โดยเร่งพัฒนาครูในสาขาวิชาที่ขาดแคลนเป็นลำดับแรก และเร่งพัฒนาในด้านคุณธรรมและจริยธรรม
๒)ดำเนินการด้านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เพื่อส่งเสริมขวัญกำลังใจ และความมั่นคงให้กับครู และพัฒนาองค์กรวิชาชีพครูในสาขาวิชาต่างๆในท้องถิ่น รวมทั้งพัฒนากองทุน    กาญจนาภิเษก และระดมทุนจากภาคเอกชนเพื่อจัดตั้งกองทุนสำหรับให้ครูกู้โดยจ่ายดอกเบี้ยต่ำเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพครู
        รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ (๒๕๓๙) ประกาศว่า
       รัฐจะยกระดับคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งเร่งรัดการแก้ปัญหาหนี้สินครูและล่าสุด รัฐบาลนายชวน หลีกภัย (๒๕๔๐) ได้ประกาศแนวทางในการประกอบวิชาชีพครูว่า
        จะเร่งพัฒนาวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพที่ได้รับการยอมรับเพื่อให้ครูได้ทำงานอย่างมีเกียรติ โดยปฏิรูปกระบวนการผลิตครู และการพัฒนาครูเน้นการผลิตในสาขาขาดแคลน ตลอดจนสร้างเกณฑ์มาตรฐานเพื่อการยกย่องให้รางวัลครุที่ดีและเก่ง มีความก้าวหน้าในอาชีพ โดยส่งเสริมสวัสดิการของครู
         จากนโยบายของหลายรัฐบาลที่กล่าวถึงข้างต้น ย่อมบ่งบอกให้พวกเราทั้งหลายทราบว่า ปัญหาเกี่ยวกับวิชาชีพครูเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาช้านานรัฐบาลในอดีตทุกรัฐบาลรับทราบและตระหนักในปัญหาได้พยายามมองหาแนวทางและมาตรการเพื่อการแก้ปัญหามาอย่างต่อเนื่อง และรัฐบาลเห็นความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องระดมทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มีอยู่ทั้งในท้องถิ่นและสากลมาร่วมแก้ปัญหา
         ด้วยเหตุที่รับบาลที่ผ่านมามีเวลาในการบริหารประเทศค่อนข้างสั้น และไม่ต่อเนื่อง นโยบายที่ประกาศออกไปจึงขาดการนำไปปฏิบัติให้บังเกิดผล เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแต่ละครั้ง รัฐบาลจึงต้องเริ่มต้นร่างนโยบายใหม่อยู่เสมอ ส่วนนโยบายเก่ามักจะถูกเก็บไว้ก่อน ไม่นำมาสานต่อ ความตั้งใจในการแก้ปัญหาวิชาชีพครูของแทบทุกรัฐบาลในอดีตจึงไม่ประสบความสำเร็จ
         หลังจากการประกาศใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ บทบัญญัติมาตรา ๘๑ แห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ระบุว่า
        มาตรา ๘๑ รัฐต้องจัดการศึกษา อบรม และสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมจัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมสร้างเสริมความรู้ และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปวิทยาการต่างๆ เร่งรัดพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ พัฒนาวิชาชีพครูและส่งเริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ และวัฒธรรมของชาติ
         จากมาตรา ๘๑ ที่บัญญัติให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ และยังบัญญัติต่อไปอีกว่า กฎหมายการศึกษาแห่งชาติต้องบัญญัติให้ฝ่ายบริหารเร่งรัด ดำเนินการให้มีการพัฒนาวิชาชีพครู การกำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางการผลิต การพัฒนาการใช้ การส่งเสริม และการสนับสนุนครูจึงเป็นสิ่งจำเป็นและต้องบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติที่ประกาศใช้นี้
         การมีกฎหมายการศึกษาและมีบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับวิชาชีพครูไว้โดยเฉพาะ ย่อมเป็นหลักประกันพัฒนาวิชาชีพครูให้เกิดความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพครุที่ยั่งยืนและถาวร และเป็นที่หวังว่ากฎหมายการศึกษาที่จะประกาศใช้ในเร็ววันนี้จะทำให้ประเทศไทยมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการพัฒนาวิชาชีพครู


เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู

                   แนวทางการดำเนินงานที่กล่าวมาแล้วโดยเฉพาะ การควบคุม และรักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพ เป็นเรื่องที่เพิ่มจะกำหนดให้มีการดำเนินงานครั้งแรกในวิชาชีพครู โดยกำหนดให้มีการกำหนดมาตรฐาน
วิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ 
                        มาตรฐาน วิชาชีพครู  เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบ
วิชาชีพคุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพครู ตาม พ... ครู พ.. 2488 ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู ไว้ 3 ด้าน กล่าวคือ                   1.  มาตรฐาน ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
                        2.  มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติงาน
                        3.  มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติตน
  มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ กำหนดไว้ ดังนี้
1)      วุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง หรือ
2)      วุฒิปริญญาตรีทางวิชาการหรือวิชาชีพอื่น และได้ศึกษาวิชาการศึกษาหรือฝึกอบรม วิชาชีพทาง    การศึกษา มาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
3)      ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง และผ่านการประเมินกาปฏิบัติ
   การสอนตามเกณฑ์ที่สภาวิชาชีพกำหนด
มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน  ได้แก่เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา)
กำหนด ประกอบด้วย
 12 เกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่  ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
มาตรฐานที่  ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
มาตรฐานที่  มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
มาตรฐานที่  พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติให้เกิดผลจริง
มาตรฐานที่  พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
มาตรฐานที่  จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่  รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
มาตรฐานที่  ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 9    ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 10  ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
มาตรฐานที่ 11  แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
มาตรฐานที่ 12  สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทุกสถานการ
าตรฐานด้านการปฏิบัติตน  ได้แก่ตามจรรยาบรรณครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ซึ่ง
ปัจจุบันกำหนดไว้ ดังนี้
1)  ครูต้องรักและเมตตาศิษย์  โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2)  ครูต้องอบรมสั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ครูต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์
อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3)  ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ทั้งกาย วาจา และจิตใจ
4) ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และ
สังคมของศิษย์
5)  ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ
และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
                        6)  ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทาง
วิทยาการ  เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
7)  ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
8)  ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครู และชุมชนในทางสร้างสรรค์
9)  ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์  และพัฒนาภูมิปัญญาและ
วัฒนธรรมไทย
มาตรฐานวิชาชีพครู  จะเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิ   ได้รับ
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะ
ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู ดังกล่าวข้างต้น         

บทบาทของครูตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ

                                ในการประกอบวิชาชีพครู นอกจากจะมีมาตรฐานวิชาชีพครู  เป็นแนวทางการดำเนินงานแล้ว พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ ได้กำหนดแนวทางจัดการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานของผู้มีหน้าที่จัดกระ
บวนการเรียนรู้ไว้ด้วย 
 ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องยึดถือเป็นแนวทางการปฏิบัติ เช่นเดียวกัน ซึ่งมีดังนี้
                                1.  จัดการเรียนการสอน  โดยยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตน
เองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด รวมถึงจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตาม
ศักภาพ
 (.22)
                              2.   จัดสาระการเรียนรู้  โดยเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และ
บูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา กล่าวคือ (.23)
                                    1)  ความรู้เกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชนชาติ สังคมโลก รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของสังคมไทย และระบบการเมือง การปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                                    2)  ความรู้และทักษะ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ ความเข้าใจและ
ประสบการณ์ เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ          สิ่งแวดล้อม
อย่างสมดุลยั่งยืน
                                    3) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา  ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์
ใช้ภูมิปัญญา
            4)  ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ ด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
            5)  ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
3. จัดเนื้อหาสาระ  และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึง
ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล (ม.24 (1) )
                    4.  ฝึกทักษะ  กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้  มา
ใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา (ม.24 (2) )
                    5.  จัดกิจกรรม  ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติ ให้ทำได้ คิดเป็น  ทำ
เป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง (ม.24 (3) )
                    6.  จัดการเรียนการสอน  โดยให้เด็กศึกษาด้วยตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น